หลักการและเทคนิคการรับผู้ป่วยใหม่
หลักการและเทคนิคการรับผู้ป่วยใหม่
การรับผู้ป่วยใหม่ (Admission) หมายถึง
การรับผู้ป่วยใหม่เข้ามาอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อการรักษาพยาบาลให้หายหรือทุเลาจากโรคต่างๆ
โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาดูแลอย่างใกล้ชิด
สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงทีเมื่อพบปัญหาที่รุนแรงหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ประเภทการรับผู้ป่วย
การรับผู้ป่วยในเพื่อรับการรักษาในโรงพยาบาล
อาจจำแนกประเภทผู้ป่วยรับใหม่ได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.ประเภทไม่รุนแรง หมายถึง
การรับผู้ป่วยที่มีการวางแผนล่วงหน้าว่าจะต้องเข้ารับการรักษาและมักจะอยู่ในโรงพยาบาลระยะสั้นๆ
เช่น ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการตรวจร่างกายด้วยเครื่องมือพิเศษเพื่อการวิเคราะห์โรค
ผู้ป่วยที่ต้องนัดทำผ่าตัดอวัยวะบางส่วนที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยที่นัดมาบำบัดทางการรักษาด้วยยาบางชนิด
รวมถึงปัจจุบันนี้ผู้ป่วยที่ขอเข้ามานอนในโรงพยาบาล
อาจเนื่องมาจากมีภาวะเครียดจากการปรับตัว
และไม่ประสงค์จะเข้าพักในโรงพยาบาลเฉพาะทางจิตเวช
บางรายอาจสามารถเข้ามาเป็นผู้ป่วยในได้เมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
2.ประเภทรุนแรงและเร่งด่วน หมายถึง
การรับผู้ป่วยที่เจ็บหนัก ได้รับอุบัติเหตุที่ต้องผ่าตัดทันที
ผู้ป่วยจำเป็นเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
เพื่อให้การรักษาอย่างรวดเร็วมิฉะนั้นอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
หรือบางรายเมื่อพ้นขีดอันตรายแล้ว ยังรักษาอาการต่างๆต่อไป
จนกระทั่งอยู่ในระยะพักฟื้นและรอกลับบ้านในที่สุด ผู้ป่วยประเภทนี้ ได้แก่
ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุต่างๆ เช่น เสียเลือด หัวใจล้มเหลว ปวดท้องอย่างรุนแรง
ในกรณีเช่นนี้หากไม่มีเตียงเพียงพอที่จะรับผู้ป่วยได้
อาจต้องเลื่อนการรับผู้ป่วยในชนิดแรกออกไปก่อนหรืออาจเร่งจำหน่ายผู้ป่วยที่สามารถกลับบ้านได้ให้ไปพักฟื้นที่บ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น